วิธีทำปุ๋ยคอกใส่ทุเรียน ทำง่าย ใช้ดี ประหยัดต้นทุน

วิธีทำปุ๋ยคอกใส่ทุเรียน ทำง่าย ใช้ดี ประหยัดต้นทุน

"ผสมส่วนผสมต่างๆ โดยอัตราส่วนหลัก (ขี้หมู 1 ส่วนต่อ แกลบ 2 ส่วน) และปิดคลุมโดยผ้าใบพลาสติกอย่างน้อย 15 วัน" ทั้งนี้ส่วนผสมประกอบด้วย

 

 

 



(1) ขี้หมูแห้งหรือขี้หมูที่ผ่านการหมักหรือไบโอแก๊ส

- ไม่แนะนำให้ใช้ขี้หมูสด เนื่องจากมีโรคและแมลงที่สามารถรบกวนทุเรียน

- เหตุผลที่แนะนำให้ใช้ขี้หมู เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย มีธาตุอาหารทั้งหลักและรอง เช่น แมกนีเซียม สังกะสี และเหล็ก อย่างไรก็ตาม ขี้วัว ขี้แพะ และขี้ค้างคาว ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน

(2) แกลบดิบ คุณสมบัติเป็นซิลิก้าที่สามารถตรึงไนโตรเจนในดินได้ ซึ่งช่วยทำให้เกิดช่องว่างในดิน และทำให้ดินสามารถระบายน้ำได้ดี ทั้งนี้สำหรับแกลบดำสามารถใช้ได้แต่ไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นด่าง (ค่า pH 10.5)

(3) ปุ๋ยอินทรีย์สวนตาก้าน ที่ประกอบด้วย ขี้วัว อะมิโน และกากน้ำตาล (อาจจะไม่ใส่ก็ได้)

(4) เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (ละลายน้ำทิ้งไว้ก่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง แล้วนำมาราดบนกองปุ๋ย) เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเป็นเชื้อราดี สำหรับป้องกันโรคไฟทอปธอรา โดยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าจะเข้าไปแย่งอาหารในดิน ซึ่งทำให้เชื้อราอื่นๆ ไม่เจริญเติบโตได้

(5) น้ำ (ในปริมาณที่พอเหมาะ โดยใส่ให้ชุ่มแต่ไม่แฉะหรือเปียกจนเกินไป)

 

คำแนะนำ สำหรับการใช้ปุ๋ยคอกสวนตาก้าน

(1) สำหรับทุเรียนปลูกใหม่ที่ปลูกไปแล้ว แนะนำให้ใส่บริเวณบนโคกประมาณครึ่งถุง (ประมาณ 1.2 กิโลกรัม) หลังจากปลูกไปแล้ว 1 เดือน สามารถใส่เพิ่ม 1 ถุง (ประมาณ 2.5 กิโลกรัม)

(2) สำหรับการเตรียมดินเพื่อปลูกทุเรียนใหม่ สามารถผสมปุ๋ย 1 ถุง (ประมาณ 2.5 กิโลกรัม) ลงไปในโคกปลูก

(3) สำหรับทุเรียนอายุ 2 ปี ใส่ปุ๋ยครั้งละ 2 ถุง (5 กิโลกรัม) โดยค่อยๆ ใส่จากน้อยไปหามาก นั่นคือ เริ่มต้นใส่จากปริมาณน้อยก่อน และเพิ่มปริมาณการใส่ปุ๋ยมากขึ้น ตามการเจริญเติบโตของต้น

- สามารถใช้กับพืชผักสวนครัว และต้นไม้ประดับในบ้านอื่นๆ เช่นกัน

- การใส่ปุ๋ยคอกสวนตาก้านไม่มีข้อจำกัดตายตัว ให้ดูความสมบูรณ์ของดินแต่ละพื้นที่เป็นหลัก โดยอาจเริ่มต้นจากการใส่ในปริมาณที่น้อย และสังเกตการแตกยอดของพืช โดยถ้าใส่แล้วทุเรียนไม่แตกยอดอาจเพิ่มปริมาณได้  ประกอบกับความถี่ในการใส่ปุ๋ย ไม่ตายตัวเช่นกัน โดยสังเกตจากใบเป็นหลัก โดยใส่ในช่วงที่ใบแก่

Visitors: 508,561